ข้อมูลการ์ดจอ

ข้อมูลการ์ดจอ ทั้งหมดที่คุณควรรู้ไว้ ในเรื่องของการ์ดจอ

ข้อมูลการ์ดจอ ความรู้ที่จะช่วยให้คุณเลือกซื้อการ์ดจอได้ง่ายขึ้น

ข้อมูลการ์ดจอ ภาพที่คุณเห็น ผ่านหน้าจอมอนิเตอร์นั้น ถูกสร้างมาจาก จุดหลาย ๆ จุดรวมกัน ที่เรียกว่า Pixels ในบรรดาจอธรรมดา ที่เราพบเจอได้ทั่วไป หน้าจอจะมี Pixels อยู่มากถึง 2 ล้านพิกเซล และคอมพิวเตอร์ ต้องตัดสินใจว่า จะให้แต่ละพิกเซล ประมวลผลออกมาเป็นอะไร เพื่อสร้างรูปภาพ ที่เราเห็นกันผ่านหน้าจอ

และการที่จะ ทำแบบนั้นได้ เราต้องมีตัวแปลภาษา ตัวแปลภาษา ที่จะเปลี่ยน Binary Data จาก CPU และเปลี่ยนมันเป็น ภาพที่เราเห็นกัน ซึ่งไอตัวแปลภาษานี่แหละ ที่เรารู้จักกันในชื่อว่า Graphics Procesor (GPU) หรือ การ์ดจอ ในภาษาไทยนั่นเอง

การ์ดจอ มีกี่ประเภท ปัจจุบัน ทั้งแล็ปท็อป และคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ รุ่นใหม่ ๆ นั้น มักจะมี การ์ดแสดงผล สำรองติดเข้าใน ให้ตัวประมวลผลหลักอยู่แล้ว หรือที่เรียกกันว่า Integrated graphics แต่สำหรับคอมพิวเตอร์ ในระดับสูง หรือคอมพิวเตอร์ประกอบเองนั้น มักจะมีช่องที่ ให้เราใส่ GPU ปกติอยู่แล้ว

การ์ดจอ จํา เป็น ไหม ข้อดีการใส่ การ์ดจอแยกนั้น ทำให้เราสามารถ ประมวลผลภาพได้ไวกว่า Integrated graphics นั่นเอง

ข้อมูลการ์ดจอ

การ์ดจอ มี หน้าที่ ประมวลผลภาพ ยิ่งแรงยิ่งประมวลได้เร็ว

หน้าที่ของการ์ดจอนั้นซับซ้อน แต่หลักการและส่วนประกอบนั้น สามารถเข้าใจได้ง่าย แต่ถ้าต้องการ จะเข้าใจว่า การ์ดจอ คือ อะไร ทำงานอย่างไร อาจจะต้องใช้ การจินตนาการกันสักนิด

ลองคิดถึงคอมพิวเตอร์ เป็นเหมือนบริษัทหนึ่ง ที่มีแผนกศิลปะอยู่ เมื่อบุคคลในบริษัทต้องการจะได้ผลงาน ศิลปะสักชิ้นหนึ่ง พวกเขาจะต้องส่ง คำขอมาที่แผนกศิลปะ และแผนกศิลปะ จะตัดสินใจว่า จะสร้างรูปอย่างไร และวาดลงบนกระดาษ ผลลัพธ์ก็คือ ไอเดียของบุคคล ที่ส่งคำขอมา จะถูกทำให้เป็นจริง ที่เห็นเป็นภาพด้วยตาได้

การ์ดจอนั้นทำงาน ในหลักการเดียวกัน ที่ยกตัวอย่างเลย CPU ที่เป็นหน่วยประมวลผลหลัก ของคอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกับ โปรแกรมซอฟต์แวร์ ส่งข้อมูลเกี่ยวกับ รูปภาพให้กับการ์ดจอ หรือ GPU

จากนั้นการ์ดจอ จะตัดสินใจที่จะใช้ ความจุ Pixels บนจอภาพสร้างภาพ ขึ้นมาจริง ๆ และส่งข้อมูลพวกนั้น ผ่านสายเคเบิล ที่เชื่อมระหว่างจอภาพ และคอมพิวเตอร์

การสร้างรูปภาพจาก Binary Data นั้นใช้ทรัพยากรอย่างหนัก

การสร้างภาพสามมิตินั้น การ์ดจอจะต้อง สร้างโครงลวดเป็นเส้นตรง ขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงทำการ แรสเตอร์ภาพ (เติมช่องว่างในพิกเซล ที่เหลือในโครง) ทั้งการเพิ่มแสง รายละเอียด และ สี

ยิ่งถ้าเราเล่นเกม ที่มีความรวดเร็วสูง คอมพิวเตอร์ของเรา จะต้องผ่านกระบวนการ ที่ว่าทั้งหมดที่กล่าวมา ประมาณ 60 – 120 ครั้งในหนึ่งวินาที ซึ่งหากไม่มีการ์ดจอ มาคำนวณในระหว่าง กระบวนการ คอมพิวเตอร์จะต้อง รับภาระที่เกินจะรับไหว

ซึ่งการ์ดจอนั้น ดำเนินงานด้วยการใช้ ส่วนประกอบสี่อย่าง

  1. Motherboard ที่เชื่อมต่อข้อมูล และให้พลังงาน กับแต่ละอุปกรณ์ ให้ทำงานร่วมกันได้
  2. Graphics processor (GPU) ที่เป็นตัวตัดสินใจว่า จะใช้พิกเซลบนหน้าจอ แต่ละจุดสร้างภาพอะไร
  3. Video Memory (VRAM) ที่ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลของ แต่ละพิกเซล และเก็บภาพที่สมบูรณ์แล้ว ไว้ชั่วคราว ก่อนจะลบมัน ทิ้งในภายหลัง
  4. Monitor จอที่เราเอาไว้ใช้ แสดงผลในตอนสุดท้าย

ข้อมูลการ์ดจอ

เรามาเจาะลึก Processor และ Memory กันดู

เช่นเดียวกับ Motherboard การ์ดจอคือ แผงวงจรพิมพ์ที่มี โพรเซสเซอร์ (ตัวคำนวณ) และ VRAM นอกจากนี้ ยังมีชิประบบอินพุต/เอาต์พุต (BIOS) ที่เก็บการตั้งค่า ของการ์ดและทำการวินิจฉัย ในหน่วยความจำ อินพุตและเอาต์พุต เมื่อเปิดเครื่อง

โพรเซสเซอร์ ของการ์ดจอ เราเรียกมันว่า Graphics Processing Unit (GPU) ซึ่งคล้ายกับ CPU ของคอมพิวเตอร์ แต่ว่าไอ GPU เนี่ยถูกออกแบบมา เฉพาะเพื่อทำงาน คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเรขาคณิตที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ในการแสดงผลกราฟิก การ์ดจอ บางตัวนั้นมีทรานซิสเตอร์ มากกว่า CPU ซะอีก (ยิ่งมีทรานซิสเตอร์เยอะ ยิ่งแรง)

GPU นั้นเมื่อมันต้อง คำนวณงานที่ซับซ้อน ก็ย่อมสร้าง ความร้อนขึ้นมา และ GPU สร้างความร้อนเยอะมาก ในคอมพิวเตอร์ โดยเราจะสัมผัส ความร้อนของมันได้ ผ่านที่ระบายความร้อน หรือพัดลม แต่ Integrated Graphics นั้นจะแตกต่างนิดหน่อย

เพราะชิปพวกนั้นจะไม่มี VRAM เป็นของตัวเอง และจำเป็นต้องดึง Ram สำรองของ CPU มาใช้งาน เพราะฉะนั้น มันอาจจะทำให้ ระบบของคุณนั้น เกิดปัญหา Memory ไม่พอได้ ในขณะเล่นเกม ด้วย CPU ที่มีการ์ดจอในตัว

ข้อมูลการ์ดจอ

ข้อมูลการ์ดจอ การเลือกการ์ดจอที่ดี

ฮาร์ดแวร์ของการ์ดจอ มีผลโดยตรงต่อ ความเร็วโดยตรง และนี่คือสิ่งที่คุณ ควรสังเกตในฮาร์ดแวร์ว่า พวกมันมีประสิทธิภาพแค่ไหน โดยสิ่งที่เราต้องดูนั้น

  • GPU clock speed (MHz) ส่งผลต่อความเร็ว ในการประมวลผล
  • ปริมาณของ Memory Bus (ฺBits) ส่งผลต่อความเร็ว ในการส่งผ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ
  • ประมาณ Memory ที่ใช้ได้ (MB) ส่งผลต่อความจุ ของหน่วยความจำ
  • Memory Clock Rate (MHz) ส่งผลต่อความเร็วในการคำนวณงานที่มีในหน่วยความจำ
  • Memory Banwidth (GB/s) ส่งผลต่อปริมาณ ที่ข้อมูลจะไหลผ่านได้ ต่อหนึ่งวินาที

แต่จริง ๆ แล้วนั้น CPU และ Motherboard นั้นก็มีบทบาท ในส่วนนี้เช่นกัน เพราะการ์ดจอที่เร็วนั้น ไม่ได้ทดแทนปริมาณข้อมูลที่ Motherboard สามารถส่งผ่านได้ รวมถึงปริมาณ และความเร็วของ CPU ที่จะส่งผ่านงาน ให้กับ Motherboard และ GPU ก็เช่นกัน

ฉะนั้น สามอย่างนี้ทำงานร่วมกัน อย่างมีนัยสำคัญ จึงจำเป็นต้อง ให้ความสำคัญ กับทั้งสามส่วนนี้ อย่างสมดุล อะไรแรงไป ถ้าอีกส่วนรับไม่ไหว ก็ทำงานไม่ได้ เต็มประสิทธิภาพ

รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมคำนึงถึง ส่วนอื่น ๆ เวลาเลือกซื้อการ์ดจอด้วยนะ!


เรียบเรียง: แซมมีแบร์